ประเทศไทยของเรามีสัตว์หลายสายพันธุ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ถือกำเนิดในไทยของเราเอง หรือเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยจะแบ่งออกเป็นสัตว์เลี้ยง สัตวป่า สัตว์หายากและแบบอื่น ๆ ในปัจจุบันการตัดไม้ทำลายป่า มีการแพร่กระจายไปเรื่อย ๆ จากคนกลุ่มที่ไม่มีจิตสำนึก ซึ่งมันส่งผลกับระบบนิเวศของสัตว์ ทำให้สัตว์หลายชนิดไร้บ้าน และอยู่ในภาวะสูญพันธุ์ วันนี้ theanimallife.com เลยขอพาไปดู 5 สัตว์ป่าสงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในไทย ส่วนจะมีสัตว์อะไร ที่เราควรสงวนและช่วยกันดูแลให้คงอยู่ต่อไปบ้าง ตามไปดูกันเลย
5 สัตว์ป่าสงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในไทย
- นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pseudochelidon sirintarae ลักษณะจะเหมือนกับนกนางแอ่น ส่วนใหญ่แล้วลำตัวจะยาว 15 เซนติเมตร ส่วนสีเป็นสีมาตรฐานนั่นคือสีดำของฟ้า นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2511 จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก 3 ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ส่วนสาเหตุที่นกชนิดนี้มันจัดเป็นสัตว์สงวนและใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นเพราะมีการบุกรุกป่าทั้งในแถบทะเลจากการทำประมง และในลักษณะอื่น ๆ
- แรด

เราเชื่อว่าคนที่รักสัตว์ หรือสนใจเกี่ยวกับสัตว์ ต้องทราบอย่างดีอยู่แล้ว ว่าแรดจัดเป็นสัตว์สงวน ที่ต้องได้รับการดูแล และรักษาเอาไว้ เนื่องจากในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที่แล้ว แรดมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicus จัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ 3 เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.6 – 1.8 เมตร น้ำหนักตัว 1500 – 2000กิโลกรัม
แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง 3 รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน 25 เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species ด้วย
- กระซู่

กระซู่ หรือ Dicerorhinus sumatrensis ก็เป็นหนึ่งในสัตว์สงวนเช่นเดียวกัน ในไทยของเราพบสัตว์ชนิดนี้น้อยลงไปทุกที ซึ่งมันบ่งบอกได้ด้วยว่า ระบบนิเวศของเรา มันไม่สมบูรณ์เช่นแต่ก่อน กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว
ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7 – 8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน 32 ปี แต่ในปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ในAppendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่นเดียวกับแรด
- กูปรีหรือโคไพร

ถ้าว่ากระซู่หายากแล้ว สิ่งที่หายากมากกว่านั้นเป็นเท่าตัว น่าจะเป็นกูปรีหรือโคไพร หรือที่มีชื่อสากลว่า Bos sauveli ส่วนใหญ่แล้วสัตว์ชนิดนี้จะอยู่รวมกันเป็นฝูง 2 – 20 ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน 9 เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ส่วนลักษณะที่พักอาศัย จะพักตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง
ก่อนหน้านี้ระเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว เมื่อปี พ.ศ.2525 มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญา CITES
นี่คือสัตว์ป่าสงวนเพียง 4 ในอีกไม่รู้กี่พันส่วน ที่มนุษย์โลกอย่างเรา ต้องช่วยกันดูแล และรักษาพวกเขาเอาไว้ เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป หรือเพื่อให้สัตว์ต่าง ๆ รักษาระบบนิเวศเอาไว้อย่างดีที่สุด เน้นการเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ไม่ทำลายป่า ภูเขา หรือแม่น้ำให้มากกว่าเดิม เพื่อที่เราจะสามารถอยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกับสัตว์เหล่านี้ได้
แนะนำบทความน่าสนใจ
ห้องน้ำ เป็นอีกหนึ่งที่ค่อนข้างที่จะมีความอับชื้น เพราะด้วยมีหน้าต่างคับแคบ อากาศไม่ค่อยถ่ายเทสักเท่าไหร (ถึงแม้จะติดพัดลมระบายอากาศ แต่ราคาแพงอยู่ดี) หรือไม่ก็จะมีการฉีดสเปรย์ วางก้อนดับกลิ่น แต่ด้วยสารเคมีที่มีสารพิษ ซึ่งบางคนอาจจะแพ้ก็ได้ จะดีกว่าไหม ถ้ามีต้นไม้ที่จะช่วยฟอกอากาศได้ หากใครเข้าห้องน้ำเมื่อได้มองสีเขียวแล้วจะทำให้สดชื่น สบายตา ส่วนจะมีต้นไม้อะไรบ้าง ตามไปกับ ต้นไม้ดีที่ควรติดห้องน้ำ
